วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ความเหมือน และความแตกต่างระหว่าง Open source software, Freeware และ Shareware

ความเหมือน และความแตกต่างระหว่าง Open source software, Freeware และ Shareware




          Open Source Software หรือ OSS คือกลุ่ม software ที่เปิดเผย source code ของโปรแกรม ทำให้สามารถแก้ไข ดัดแปลง source code ได้หมด ซึ่งเป็นการให้สิทธิเสรีแก่ผู้ที่จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกันในลักษณะของสังคมซอฟต์แวร์ แต่ OSS จะไม่สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้

          Freeware หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องไม่นำไปขายหรือนำไปหารายได้จากโปรแกรมนั้น หรือ(ต้องระวัง)ควรอ่านข้อกำหนดของโปรแกรมนั้นให้ชัดเจนก่อนใช้ เพราะบางครั้งมีข้อจำกัดในการใช้บางอย่าง Freeware สามารถโหลดโปรแกรมได้จากเว็บไซต์ผู้พัฒนาโดยตรง ในการลงโปรแกรมที่เป็น Freeware นั้น อาจจะมีโปรแกรมอื่นๆ แทรกเข้ามาด้วย ซึ่งนั่นคือการช่วยโฆษณาให้กับโปรแกรมเหล่านั้น เป็นการหางบประมาณให้กับผู้พัฒนา Freeware นำไปใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนต่อไป

     Shareware คือ โปรแกรมประเภทให้ทดลองใช้ ซึ่งจะถูกจำกัดความสามารถบางอย่างไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทดลองใช้โปรแกรม โดยหากสนใจใช้โปรแกรมอย่างครบทุกความสามารถ ก็ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อโปรแกรมเวอร์ชั่นสมบูรณ์จากบริษัทผู้พัฒนา ข้อดีของโปรแกรมประเภท Shareware คือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเสียเงินก็สามารถใช้โปรแกรมได้  เมื่อพอใจจึงตัดสินใจซื้อ ส่วนด้านเจ้าของโปรแกรมก็ถือเป็นการแนะนำสินค้าที่ดีวิธีหนึ่ง

:: สรุป ::
     Open source software หรือ OSS, Freeware และ Shareware เป็นซอฟต์แวร์ที่เราสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีทั้งสิ้น แต่ก็ต้องคำนึงถึงลิขสิทธิ์ของแต่ละซอฟต์แวร์ เพราะลิขสิทธิ์จะเป็นตัวกำหนดขอบเขตหรือข้อตกลงในการใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ  เพราะถ้านำซอฟต์แวร์ไปใช้นอกเหนือขอบเขตที่ทางผู้พัฒนาได้กำหนดไว้ จะถือว่าเราได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ทางผู้พัฒนามีสิทธิ์ที่จะดำเนินคดีกับเราได้ ฉะนั้นเมื่อเราดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ตัวไหนมา เราก็ควรจะดูข้อกำหนดการใช้ การเผยแพร่ซอฟต์แวร์เหล่านั้นด้วย เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่ทำให้ตัวเราเองต้องเดือดร้อนเพราะความประมาทด้วยเช่นกัน


Credit : https://pranuwatgolf026.wordpress.com/2014/08/20/oss-freeware-shareware/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น